Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมด
Week4
Input
Process
Output
Outcome

โจทย์ :
อาหารจากสัตว์
Key  Questions :
- จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง? (เครื่องอ่อม ข่า ตะไคร้ มะเขือ ใบอ่อมแสบ บวบ)
- นักเรียนคิดว่ายังมีส่วนผสมอะไรอีกที่ใช้ในการทำอาหารของตนเอง?
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารของนักเรียนมีอะไรบ้าง/ใครจะช่วยเตรียมได้บ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มี
-
Show and Share ชิ้นงานทั้งหมดในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- พืชผักภายในโรงเรียน
- บริเวณภายในโรงเรียน
- อุปกรณ์ทำอาหาร

















วันจันทร์ 1 ชั่งโมง
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณรอบๆครัวใหญ่ของโรงเรียน เพื่อสำรวจพืชผักที่จะนำกลับมาทำเป็นอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "พืชผักต่างๆเหล่านี้นำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง"
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
- ครูพานักเรียนเลือกเก็บผักที่ต้องการ
(เครื่องอ่อม ข่า ตะไคร้ มะเขือ ใบอ่อมแสบ บวบ)
- ครูและนักเรียนช่วยกันล้างทำความสะอาดพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
วันอังคาร 1 ชั่วโมง

ชง
ครูตั้งคำถามจากสิ่งที่เก็บมา “จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”


เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร
1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร 1 อย่างได้
ใช้
- นักเรียนวาดภาพและเขียนชื่อของพืชผักที่เก็บมาลงในสมุด
- นักเรียนกลับไปสอบถามคุณแม่หรือผู้ปกครองที่บ้านว่าผักทั้งหมดสามารถนำมาทำอาหาร 1 อย่างแล้วจะทำอะไรได้บ้าง

วันพุธ
1 ชั่งโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร 1 อย่างร่วมกัน เพื่อจะทำอาหาร โดยแบ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาในวันพฤหัสบดี
ใช้
นักเรียนเขียนอุปกรณ์ที่ต้องรับผิดชอบนำมาในวันพุธลงในสมุดของตนเอง เพื่อเตรียมเป็นการบ้าน
วันพฤหัสดี 1 ชั่วโมง
ชง
ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารจากผักที่มีอยู่และ วัตถุดิบที่เตรียมมาเพิ่มเติมเป็น 3 กลุ่มๆละ 6-7 คน
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่ทำขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม กลิ่น รสชาติ และส่วนผสม
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปการทำอาหารเป็นกลุ่ม
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในสัปดาห์ที่ 4 นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง / เรียนรู้อย่างไร
เชื่อม
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร
1 อย่างได้
- ประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่เก็บมาเป็นกลุ่ม
ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนชื่อพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
- สรุปการทำอาหารเมนูจากสัตว์
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมดได้
ทักษะ
:
- สมารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยรู้หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของตนเอง
- สามารถออกแบบและวางแผนเมนูง่ายๆจากวัตถุดิบที่มี             
- สามารถนำเสนอชิ้นงานให้ครู และเพื่อนๆเข้าใจได้
- มีความสุขกับการเรียนรู้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางกายบอกลักษณะ สี กลิ่น รสชาติ ของพืชผักที่เรียนรู้ได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน























ภาพประกอบกิจกรรม วันจันทร์ ที่ 16 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558




ภาพประกอบกิจกรรม วันอังคาร ที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558










ภาพประกอบกิจกรรม วันพุธ ที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558






ภาพประกอบกิจกรรม วันพฤหัสบดี ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558




















ภาพประกอบกิจกรรม วันศุกร์ ที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558







1 ความคิดเห็น:

  1. ครูและนักเรียนเดินสำรวจภายในโรงเรียนโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริเวณครัวใหญ่และบ้านมัธยม โดยให้นักเรียนช่วยกันเก็บผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ นักเรียนเดินสำรวจผักต่างๆ เช่น ใบโหระพา แมงลัก ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว ฯลฯ ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียน ได้ผักอะไรบ้าง/ เจอที่ไหน/ มีวิธีการล้างผักอย่างไร แล้วช่วยกันล้างทำความสะอาดและเก็บเข้าตู้เย็น ในชั่วโมงต่อมาครูและนักเรียนทบทวนผักที่เลือกเก็บมาร่วมกัน เพื่อสรุปโดยการวาดรูปภาพผักพร้อมเขียนชื่อผักลงในกระดาษ จากนั้นกลับไปสอบถามผู้ปกครองที่บ้าน ว่าผักเหล่านี้สามารถนำมาประกอบอาหารอะไรได้บ้างหลังจากที่ได้ไปสอบถามผู้ปกครองมา นักเรียนทุกคนจะได้มานำเสนอเมนูร่วมกันจนได้เมนูที่ต้องทำดังนี้ กลุ่มที่ 1ข้าวผัด กลุ่มที่ 2 น้ำพริกปลาทู และกลุ่มที่ 3 สลัดผัก จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ อุปกรณ์ เครื่องเทศ ในการทำอาหาร เพื่อสรุปใส่กระดาษทำเป็นปฏิทิน

    ในชั่วโมงต่อมาวันพฤหัสบดี ครูและนักเรียนได้สร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำอาหาร สัปดาห์นี้ผู้ปกครองอาสาไม่มา ครูใช้คำถามกระตุ้นจากสื่อต่างๆ เช่น “เห็นอะไร/ มีลักษณะ/ มีอะไรบ้าง “หลังจากนั้นนักเรียนได้ลงมือทำโดยนำผักของกลุ่มตัวเองไปล้างให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วลงมือตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เมื่อทำอาหารเสร็จเรียบร้อยทุกคนร่วมกันชิมรสชาติอาหารที่ทำ พร้อมอธิบายรสชาติเป็นอย่างไร เช่น “มีรสเค็ม เพราะใส่อะไรลงไป /มีรสเผ็ด เพราะใส่อะไรลงไป”

    ในวันศุกร์นักเรียนแต่ละคนก็จะนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการทำอาหารให้เพื่อนฟัง เช่น มีอุปกรณ์อะไรบ้าง /มีขั้นตอนทำอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร และเพราะเหตุใด นักเรียนสามารถนำเสนองานโดยการเล่าถ่ายทอดในสิ่งที่ตนเองทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ